วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

จิตวิทยาในการออกแบบ

นักจิตวิทยามีความเชื่อมั่นว่า แรงจูงใจ ( Motivation ) เป็นแรงผลักดัน ช่วยกระตุ้นความคิดของมนุษย์ในอันที่จะก่อเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในกระบวนการการสื่อสารเมื่อผู้รับสารมีทัศนคติคล้อยตามก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม การตรวจสอบว่าสื่อที่นำเสนอให้ผู้ชมหรือผู้รับสารนั้นมีแรงจูงใจให้ผู้รับสารมีทัศนคติคล้อยตามมากน้อยเพียงใด จึงดูที่พฤติกรรมการแสดงออก เช่น การให้ความสนใจมากขึ้น หรืออาจจะกระทำตามข้อมูล สาระนั้นๆในการสร้างรูปแบบของงาน สื่อสิ่งพิมพ์ใดๆ ตลอดจนสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุกประเภท การดูภาพ ก่อนจะทำการออกแบบ ผู้ออกแบบต้องรู้ว่างานที่ออกแบบนั้นๆมีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการจะเน้นส่วนใดเป็นหลัก เน้นภาพหรือข้อความ หรือต้องการให้ส่วนใดเด่นชัดและส่วนใดเป็นส่วนประกอบเสริม และต้องการให้ผู้ดูเห็นอะไร การออกแบบที่ดีจะเป็นการกำหนดสายตาผู้ดูให้ดูจุดแรกและต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนถึงจุดสุดท้ายอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ผู้ดูจะให้ความสนใจในจุดที่ผู้ออกแบบเน้นเป็นพิเศษ ความสำเร็จของการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารก็คือผู้ดูภาพสามารถรับรู้ เข้าใจในสื่อนั้นๆอย่างชัดเจน สนใจ ใช้เวลาน้อยที่สุดในการสื่อความหมาย การออกแบบที่ดีจะเป็นปัจจัยในการคิดและออกแบบของนักออกแบบของนักออกแบบที่ต้องคะนึงถึงมีดังนี้
1.ทัศนภาพ ( Vision) คือ การมองเห็นภาพของผู้ดูซึ่งเป็นการแสดงการรับรู้ของการเห็น ภาพที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกในทางการรับรู้ที่จะบอกถึงรายละเอียดของเนื้อหาในทางกว้าง ยาวและลึก ภาพที่ปรากฏแสดงแสดงถึงลักษณะแบบภาพเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติ การเห็นของคนแต่ละกลุ่มแต่ละวัย มองกลุ่มภาพแตกต่างกัน ***แนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบ
1)พื้น
2)ส่วนโค้ง
3)รูปร่างไม่แบ่งแยกกัน
4)จุดเด่นของภาพ
5)ส่วนที่มีความเข้มมากกว่าคือส่วนที่เป็นภาพ
6)พื้นระนาบถูกปิดล้อมคือส่วนของภาพ
7)การวางตำแหน่งของรูปต้องสามารถเห็นได้เป็นทั้งส่วนภาพและพื้นเท่ากัน
8)ภาพและพ้นที่มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกัน ***การจัดหมวดหมู่เพื่อการรับรู้ภาพ
1)ความใกล้ชิดกัน 2)ความคล้ายคลึงกัน 3)ความต่อเนื่องกัน 4)
การประสานกัน 2.ทัศนมายาหรือภาพลวงตา การเกิดลักษณะภาพลวงตาเกิดได้หลายลักษณะ ได้แก่ 1)เกิดจากการต่อเติมหรือเพิ่มเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป 2)เกิดจากการมีขนาดสัมพันธ์กัน 3)เกิดจากการตัดกันของเส้นทางหรือเกิดจากมุมต่างๆกันของเส้นที่นำมาประกอบ 4)เกิดจากลักษณะของรูปภาพที่สร้างขึ้น ความชอบแลไม่ชอบภาพ ความชอบหรือไม่ชอบย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขต่างๆหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1)ภูมิหลังของแต่ละคน
2)การศึกษา
3)เพศ
4)วัย
5)สภาพแวดล้อม จิตวิทยาในการใช้สี 1)ทฤษฎีตามหลักวิชาฟิสิกส์ สีหมายถึงส่วนประกอบของสเปคตรัม แม่สีแสงนี้ประกอบไปด้วยสี 3 สี ได้แก่ RED GREEN BLUE ถ้าเอาสีของแสงทั้งสาม มาผสมกันจะได้สีใหม่อีก 3 สี ดังนี้
RED + BLUE = MAGENTA
BLUE + GREEN = CYAN
GREEN + RED = YELLOW
และ RED + GREEN + BLUE = WHITE
2)ทฤษฎีตามหลักวิชาเคมี สีคือ ส่วนผสมที่ย้อมขึ้นหรือเป็นเนื้อแท้ของสี ซึ่งกำหนดแม่สีไว้เป็น 3 สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน
ถ้านำเอาสีมาผสมกันจะได้สีใหม่ 3 สี ดังนี้
สีแดง + สีเหลือง = ส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน = สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง = สีม่วง
3)ทฤษฎีตามหลักจิตวิทยา แม่สีตามทฤษฎีนี้ประกอบด้วย เหลือง เขียว น้ำเงิน และแดง ถ้านำแม่สีมาผสมกันจะได้สีใหม่ 4 สี ดังนี้
สีเหลือง + สีเขียว = สีเขียวเหลือง
สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีแดง = สีม่วง
สีแดง + สีเหลือง = สีส้ม
4)ทฤษฎีของมันเซลล์
กำหนดแม่สีขึ้นเป็น 5 สี ด้วยกัน คือ แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง เมื่อนำมาผสมกันจะได้สีใหม่อีก 5 สี ดังนี้ สีแดง + สีเหลือง = สีส้มหรือสีเหลืองแก่ สีเหลือง + สีเขียว = สีเหลืองเขียว สีเขียว + สีน้ำเงิน = สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน + สีม่วง = สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง + สีแดง = สีม่วงแดง ***การใช้สี เมื่อสายตาได้สัมผัสวัตถุได้เห็นความแตกต่างหลากหลายของสีในวัตถุย่อมเกิดความรู้สึกต่างๆ ได้แก่ ตื่นเต้น หนาวเย็นหรืออบอุ่น อ่อนหวาน นุ่มนวลหรือเข้มแข็ง และยังเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสัญลักษณ์ทางความคิดเชิงนามธรรมบางประการอีกด้วย เช่น ความสงบสันติ การเคลื่อนไหว อันตราย ความตาย ฯลฯ ***หลักพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี
1)ใช้สีสดใสสำหรับรับกระตุ้นให้เห็นเด่นชัด
2)ควรระลึกไว้เสมอว่าการใช้สีมีวัตถุประสงค์ให้เห็นเด่นชัด
3)การออกแบบกราฟิกไม่จำเป็นต้องใช้สีเสมอไป ควรพิจารณาถึงความเหมาะสม
4)การใช้สีควรเหมาะสมกับวัยของผู้บริโภค
5)ไม่ควรใช้สีมากเกินไปเพราะจะลดความเด่นชัดของงาน
6)เมื่อใช้สีเข้มจัดคู่กับสีอ่อนมากๆจะทำให้ดูชัดเจน
7)การใช้สีพื้นในการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นที่ว่างอาจทำให้ดูไม่เร้าใจ
8)การใช้สีกับข้อความและตัวอักษรต้องชัดเจนและอ่านง่าย
การเลือกใช้ภาพ 1)ลักษณะของภาพ
ต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 2)รูปแบบภาพ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของสื่อ
3)สีของภาพ ต้องชัดเจน
4)ขนาดของภาพ ภาพที่มีขนาดใหญ่จะได้รับความสนใจมากที่สุด ***นักออกแบบแยกแยะงานตามลักษณะการถ่ายทอดมี 3 ชนิด คือ
1)ภาพที่ถ่ายทอดตามความเป็นจริง (Realistic)
2)ภาพที่ถ่ายทอดด้วยลักษณะตัดทอน (Distortion)
3)ภาพที่ถ่ายทอดตามความรู้สึก (Abstraction) ลักษณะที่ดีของภาพ นักออกแบบควรได้เน้นถึงองค์ประกอบเสริมอื่นๆด้วย ดังนี้ 1)การออกแบบภาพทุกครั้งต้องคำนึงถึงหลักศิลปะหรือความงดงามทางศิลปะด้วย 2)ภาพที่นำมาใช้ต้องมีความชัดเจน 3)ภาพที่ออกแบบขึ้นต้องมีความสมจริงมีเหตุผลเป็นไปได้ 4)ภาพที่ดีต้องมีความคมชัด
5)ควรเลือกภาพ ที่สามารถกระตุ้นอารมณ์และความคิดได้
6)ภาพต้องไม่สลับซับซ้อนเกินไป
หลักการสร้างความสนใจ
1)การเสนอด้วยรูปแบบของคำถาม
2)การชี้แจงรายละเอียด
3)การขอร้อง
4)การแนะนำให้คล้อยตามหรือรับทราบ
5)การชักชวน
6)การสร้างปริศนา
7)การเสนอลักษณะท้าทาย จิตวิทยาการโน้มน้าวใจ
อริสโตเติ้ลได้กำหนดหลักการโน้มน้าวใจไว้เป็น 3 วิธี คือ 1)Ethos คือการโน้มน้าวใจโดยใช้ตัวบุคคล 2)Pathos คือการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์ แนวคิดที่ช่วยหว่านล้อมให้คนเกิดความเชื่อถือ อันได้แก่ -พวกมากลากไป -ลักษณะชาตินิยม -การเข้าหามวลชน -การเน้นลักษณะเด่นเฉพาะบุคคล -การอ้างเป็นพวกเดียวกัน -ความกลัว -การอำพรางบางส่วน -การอ้างชื่อสนับสนุน -การยั่วยุประสาทสัมผัส -จิตวิทยาทางด้านภาษา -การเน้นเกินความเป็นจริง 3)Logos คือการโน้มน้าวใจโดยใช้เหตุผล การอ้างเหตุผลสามารถนำเสนอได้หลายลักษณะ ได้แก่ -การอ้างเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) -การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย (Induction) -การอ้างเหตุไปสู่ผลหรือผลไปสู่เหตุ

1 ความคิดเห็น: